หลักการทำงานรีเลย์ มีหลักการทำงานอย่างไร ดีเลย์ทั้ง 11 ประเภทแตกต่างกันไหม ?

หลักการทำงานรีเลย์ เชื่อว่าหลายๆท่านรู้จักและเคยใช้งานรีเลย์(relay) กันมาก่อน แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า หลักการทำงานและอุปกรณ์ภายในนั้นมีหน้าตาอย่างไร…บทความนี้จะพาท่านมาทำความรู้จักกับข้อมูลและหลักการทำงานเบื้องต้นของรีเลย์(relay) ซึ่งเราคาดหวังว่าจะช่วยทำให้ท่านมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

หลักการทำงานรีเลย์

รีเลย์จะทำงานโดยการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด เพื่อเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก สำหรับใช้ดึงดูดหน้าสัมผัส(contact)ให้เปลี่ยนทิศทางการไหลของไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆคล้ายกับสวิตซ์

ส่วนประกอบสำคัญของรีเลย์มีดังนี้

1. ขดลวด(coil) ทำหน้าที่รับแรงดันไฟฟ้าจากวงจรตัวควบคุมหรือ controller เพื่อเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าให้เปลี่ยนเป็นพลังงานแม่เหล็กในการทำให้ดึงดูดหน้าสัมผัส(contact) ให้เปลี่ยนตำแหน่ง
2. หน้าสัมผัส(contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์ ที่กำหนด ทิศทางการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่เราต้องการ

ตัวอย่างการทำงานของรีเลย์(relay)

หลักการทำงานรีเลย์ มีหลักการทำงานอย่างไร แต่ระแบบให้งานต่างกันอย่างไร?
รูปที่ 1

   รูปที่1 : ในสภาวะปกติที่ไม่มีการกดสวิตช์ แบตเตอรี่ไม่จ่ายไฟให้ขดลวด (coil)

ทำให้ไม่เกิดการเหนี่ยวนำหน้าสัมผัส(contact) จึงอยู่ในสภาวะปกติปิด(NC) ไฟติด

หลักการทำงานรีเลย์ มีหลักการทำงานอย่างไร แต่ระแบบให้งานต่างกันอย่างไร?
รูปที่ 2

รีเลย์ เราจะเลือกอย่างไร ?

หลังจากที่ท่านได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของรีเลย์(relay) แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ควรรู้ คือ จะเลือกซื้อรีเลย์(relay) อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งทางเราไม่ต้องการให้ท่านเกิดปัญหาหรือว่าเลือก spec สินค้าผิดไปแล้วใช้งานไม่ได้ เราจึงอยากจะแนะนำปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้งานดังนี้

แรงดันของขดลวดไฟฟ้า (coil rated voltage)
คือแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่ขดลวด(coil) ให้เกิดการเหนี่ยวนำเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของหน้าสัมผัส(contact) ซึ่งต้องพิจารณาชนิดของแรงดันด้วยว่าเป็นแบบ AC หรือ DC เช่น 24VDC หมายความว่าต้องใช้แรงดันที่ 24VDC เท่านั้น หากมากกว่านั้นขนลวด(coil) อาจขาดได้ หรือหากต่ำกว่านั้นมาก รีเลย์(relay) ก็จะไม่ทำงาน

กระแสไฟ (contact rated voltage)
คือกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่หน้าสัมผัส(contact) สามารถทนได้ เช่น 10A 220VAC หมายถึง หน้าสัมผัส(contact) ของรีเลย์(relay) สามารถทนกระแสได้สูงสุดที่ 10A ในขณะที่ใช้แรงดันไฟ 220VAC

จำนวนและชนิดของหน้าสัมผัส (contact configuration)
ขึ้นกับจำนวนอุปกรณ์ที่นำไปต่อพ่วง เมื่อต้องการควบคุมอุปกรณ์หลายอย่าง แนะนำให้ใช้หน้าสัมผัส1ตำแหน่ง ต่ออุปกรณ์1ตัว เนื่องจากหากต่อพ่วงมากเกินไป อาจทำให้หน้าสัมผัสรับภาระมากเกินไป จนอาจทำให้รีเลย์ หรืออุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเสียหายได้ นอกจากนี้ยังต้องดูว่าระบบที่ท่านใช้งานต้องใช้หน้าสัมผัสแบบไหน โดยเพื่อนๆจะต้องระบุด้วย จำนวน ต่อด้วยชนิดของหน้าสัมผัส ตัวอย่างเช่น 1NO, 1NC, 1NO1NC, 2NO, 2NC หรือ 2NO2NC

หลักการทำงานรีเลย์ มีกี่ประเภท?

ชนิดของรีเลย์
การแบ่งชนิดของรีเลย์สามารถแบ่งได้ 11 แบบ คือ
ชนิดของรีเลย์แบ่งตามลักษณะของคอยล์ หรือ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน (Application) ได้แก่รีเลย์ดังต่อไปนี้ 
1.กระแส (Current relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยใช้กระแสมีทั้งชนิดกระแสขาด (Under- current)
และกระแสเกิน (Over current)
2.แรงดัน (Voltage relay) คือ รีเลย์ ที่ทำงานโดยใช้แรงดันมีทั้งชนิดแรงดันขาด (Under-voltage) และ แรงดันเกิน (Over voltage)
3.รีเลย์ช่วย (Auxiliary relay) คือ รีเลย์ที่เวลาใช้งานจะต้องประกอบเข้ากับรีเลย์ชนิดอื่น จึงจะทำงานได้
4.กำลัง (Power relay) คือ รีเลย์ที่รวมเอาคุณสมบัติของรีเลย์กระแส และรีเลย์แรงดันเข้าด้วยกัน
5.เวลา (Time relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ
5.1 กระแสเกินชนิดเวลาผกผันกับกระแส (Inverse time over current relay) คือ รีเลย์ ที่มีเวลาทำงานเป็นส่วนกลับกับกระแส
5.2 กระแสเกินชนิดทำงานทันที (Instantaneous over current relay) คือรีเลย์ที่ทำงานทันทีทันใดเมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินกว่าที่กำหนดที่ตั้งไว้
5.3แบบดิฟฟินิตไทม์เล็ก (Definite time lag relay) คือ รีเลย์ ที่มีเวลาการทำงานไม่ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของกระแสหรือค่าไฟฟ้าอื่นๆ ที่ทำให้เกิดงานขึ้น
 5.4 แบบอินเวอสดิฟฟินิตมินิมั่มไทม์เล็ก (Inverse definite time lag relay) คือ รีเลย์ ที่ทำงานโดยรวมเอาคุณสมบัติของเวลาผกผันกับกระแส (Inverse time) และ แบบดิฟฟินิตไทม์แล็ก (Definite time lag relay) เข้าด้วยกัน
6.กระแสต่าง (Differential relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยอาศัยผลต่างของกระแส
7.(Directional relay) คือรีเลย์ที่ทำงานเมื่อมีกระแสไหลผิดทิศทาง มีแบบรีเลย์กำลังมีทิศ
(Directional power relay) และรีเลย์กระแสมีทิศ (Directional current relay)
8.ระยะทาง (Distance relay) คือ รีเลย์ระยะทางมีแบบต่างๆ ดังนี้
– รีแอกแตนซ์รีเลย์ (Reactance relay)
– อิมพีแดนซ์รีเลย์ (Impedance relay)
– โมห์รีเลย์ (Mho relay)
– โอห์มรีเลย์ (Ohm relay)
– โพลาไรซ์โมห์รีเลย์ (Polaized mho relay)
– ออฟเซทโมห์รีเลย์ (Off set mho relay)
9.อุณหภูมิ (Temperature relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานตามอุณหภูมิที่ตั้งไว
10.ความถี่ (Frequency relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานเมื่อความถี่ของระบบต่ำกว่าหรือมากกว่าที่ตั้งไว้
11.บูคโฮลซ์รีเลย์ (Buchholz ‘s relay) คือรีเลย์ที่ทำงานด้วยก๊าซ ใช้กับหม้อแปลงที่แช่อยู่ในน้ำมันเมื่อเกิด ฟอลต์ ขึ้นภายในหม้อแปลง จะทำให้น้ำมันแตกตัวและเกิดก๊าซขึ้นภายในไปดันหน้าสัมผัส ให้รีเลย์ทำงาน

หลักการทำงานรีเลย์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรีเลย์

1.1 หน้าที่ของรีเลย์ คือ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ตรวจสอบสภาพการณ์ของทุกส่วน ในระบบกำลังไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาหากระบบมีการทำงานที่ผิดปกติ รีเลย์จะเป็นตัวสั่งการให้ตัดส่วนที่ลัดวงจรหรือส่วนที่ทำงานผิดปกติ ออกจากระบบทันทีโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเป็นตัวที่ตัดส่วนที่เกิดฟอลต์ออกจากระบบจริงๆ

1.2 ประโยชน์ของรีเลย์
1.ทำให้ระบบส่งกำลังมีเสถียรภาพ (Stability) สูงโดยรีเลย์จะตัดวงจรเฉพาะส่วนที่เกิดผิดปกติ ออกเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการลดความเสียหายให้แก่ระบบน้อยที่สุด
2.ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมส่วนที่เกิดผิดปกติ
3.ลดความเสียหายไม่เกิดลุกลามไปยังอุปกรณ์อื่นๆ
4.ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่ดับทั้งระบบเมื่อเกิดฟอลต์ขึ้นในระบบ

1.3 คุณสมบัติที่ดีของรีเลย์
1.ต้องมีความไว (Sensitivity) คือมีความสามารถในการตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อย
2.มีความเร็วในการทำงาน (Speed) คือความสามารถทำงานได้รวดเร็วทันใจ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์และไม่กระทบกระเทือนต่อระบบ โดยทั่วไปแล้วเวลา ที่ใช้ในการตัดวงจรจะขึ้นอยู่กับระดับของแรงดันของระบบด้วย
ระบบ 6-10 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 1.5-3.0 วินาที
ระบบ 100-220 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.15-0.3 วินาที
ระบบ 300-500 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.1-0.12 วินาที

ขอบคุณข้อมูลและภาพ :www.smartlearningweb.com
ขอบคุณข้อมูลและภาพ :http://www.psptech.co.th
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น