ผ้าเบรคบิ๊กไบค์ เลือกใช้แบบไหนดีให้เหมาะสมกับการใช้งาน?

ประเภทของผ้าเบรคบิ๊กไบค์

ผ้าเบรคบิ๊กไบค์ เมื่อพูดถึงเรื่องผ้าเบรคสำหรับรถมอเตอร์ไซค์หรือผ้าเบรค นั้นเราควรเลือกใช้แบบไหนดี
ส่วนตัวแล้วการเลือกตกแต่งรถมอไซค์ทุกคันของผมจะให้ความสำคัญที่ระบบช่วงล่างมากกว่าระบบเครื่องยนต์ โดยเฉพาะเรื่องเบรคและยาง เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการขับขี่ ก่อนที่จะไปเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ คิดว่าข้อนี้ไม่ต้องอธิบายมากเพราะทุกคนก็น่าจะเข้าใจเหตุผล แต่ไม่ใช่ว่าระบบเบรคเดิมที่ติดรถมานั้นจะใช้ไม่ได้นะครับ มันใช้ได้ดีเลยทีเดียวถ้าเราเลือกใช้ผ้าเบรคที่ถูกต้องเหมาะสม ยกเว้นว่าถ้าคุณต้องการสมรรถนะที่ดีกว่าเพื่อการแข่งขันแบบจริงจัง
เรามาเข้าเรื่องผ้าเบรคกันดีกว่า สำหรับรถที่ใช้งานบนท้องถนนทั่วไป เราสามารถเลือกผ้าเบรคให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน และงบประมาณของเราได้ ในตลาดตอนนี้มีผ้าเบรคคุณภาพสูง ที่จำแนกด้วยวัสดุที่นำมาใช้ทำผ้าเบรคอยู่หลากหลายชนิด แบ่งเป็นวัสดุหลักๆได้ 3 แบบด้วยกัน จะมีแบบไหนบ้าง สามารถอ่านบทความด้านล่าง ได้เลย

การเปลี่ยน และติดตั้งผ้าเบรคใหม่

ผ้าเบรค Sintered Brake Pads

ผ้าเบรคบิ๊กไบค์ แบบแรกคือผ้าเบรคแบบ ซินเทอร์ หรือ ซินเทรด เป็นผ้าเบรคที่เกือบจะเป็นแบบฉบับของผ้าเบรคติดรถซุปเปอร์ไบค์ ในยุคสมัยนี้แล้ว วัสดุที่ใช้คือ ส่วนผสมของโลหะอ่อนหลายชนิดมาหลอมรวมกันด้วยความร้อนและแรงดันสูง เหตุผลหลักๆเลยที่ได้รับความนิยมสูง เพราะมันสามารถครอบคลุมการใช้งานได้ดีในทุกสภาวะการณ์ไม่ว่าจะแห้ง เปียก หนาว ร้อน และมีความเสถียรในทุกอุณหภูมิคือร้อนเร็วถึงอุณหภูมิทำงานเร็ว คลายความร้อนได้เร็ว ทนความร้อนได้สูงและเกิดอาการเฟดน้อยมาก (การสึกหรอของผ้าเบรค) แม้แต่ผ้าเบรคที่ใช้ในรถแข่งก็นิยมใช้กัน
แต่กระนั้นมันก็มีจุดบอดตรงที่ มันจะทำให้จานเบรคสึกหรอเร็ว (กินจาน) ดังนั้นจึงควรที่จะใช้ร่วมกับจานเบรคที่ใช้ผ้าเบรคชินเทอร์ติดมาจากโรงงานอยู่แล้ว เว้นเสียแต่ถ้าคุณต้องการประสิทธิภาพมากกว่า ความประหยัด โดยอาจจะต้องเปลี่ยนจานเบรคบ่อยขึ้น

ชนิดของผ้าเบรคบิ๊กไบค์แต่ละแบบ

ผ้าเบรค Organic Brake pads

ผ้าเบรคแบบออแกนิค ทำจากวัสดุไฟเบอร์ โดยหล่อเข้าด้วยกันกับ เรซิ่นชนิดพิเศษ และในปัจจุบัน อาจจะผสมวัสดุคาร์บอน และเคฟล่าลงไปด้วยเพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน ให้ยาวนานขึ้น จุดเด่นของผ้าเบรคชนิดนี้คือมีราคาถูกกว่า ไม่กินจานเบรคเพราะใช้วัสดุที่อ่อนนิ่มกว่า ให้สัมผัสที่นุ่มนวล ดีในเรื่องของการคอนโทรลเบรค ที่ความเร็วต่ำเพราะให้แรงเสียดทานเริ่มแรกต่ำกว่าในขณะบีบเบรคเบาๆ จุดเด่นอีกเรื่องคือไม่กินจานเบรค และยังคงความเงางามของจานเบรคไว้ได้ดี เพราะไม่เกิดความร้อนสูง ฝุ่นจากผ้าเบรคน้อย
จุดด้อยของมันคือ ผ้าเบรคจะสึกเร็วกว่าแบบอื่นๆ ทนความร้อนไม่ได้สูง ออกอาการเฟดเร็วกว่า และยังไม่ชอบสภาวะที่เปียกแฉะ มันจะลดประสิทธิภาพลง จึงเหมาะสำหรับคนที่ขับขี่ใช้งานทั่วๆไป

ชนิดของผ้าเบรค และคุณสมบัติแบบเปรียบเทียบ

ผ้าเบรค Ceramic Brake Pads

ผ้าเบรคแบบเซรามิค ทำจากวัสดุผสมระหว่าง เซรามิก และโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก โดยรวมจะ มีคุณสมบัติที่อยู่ระหว่างเบรคทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาในข้างต้น โดยโลหะที่ผสมอยู่นั้น จะเป็นตัวที่ช่วยเพิ่มกำลังเบรค และกำลังในการเริ่มเบรคที่เร็วขึ้น ในขณะที่เซรามิค จะช่วยในเรื่องของความร้อน ช่วยนำพาความร้อน ระบายออกได้ดีกว่า และยังทนความร้อนได้ดีกว่าวัสดุออแกนิค ลดอาการเฟด ของผ้าเบรคได้ดีกว่า การทำงานก็ยังเงียบกว่าทั้งสองแบบ ผ้าเบรคก็มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่กินจานเบรคด้วย แต่มันก็ถูกจัดให้ใช้กับรถแบบทัวริ่ง หรือรถที่สมรรถนะที่ไม่สูงมากนักเท่านั้น

ผ้าเบรค Ceramic จากแบรนด์ Nexzter

วิธีตรวจเช๊คผ้าเบรคบิ๊กไบค์เบื้องต้น

เรื่องความปลอดภัยในการขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือบิ๊กไบค์นั้น นอกเหนือจากยางล้อ ที่มีคุณภาพ และยังอยู่ในอายุการใช้งานที่ดี อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก และเป็นเรื่องลำดับต้นๆ  ที่ควรคำนึงถึง นั่นคงหนีไม่พ้นเรื่อง ระบบเบรค ซึ่งชิ้นส่วนที่สำคัญมากลำดับต้น ๆ ของระบบเบรคที่ดีนั่นก็คือผ้าเบรค ซึ่งที่ผ่านๆ มาอาจยังมีชาวไบค์เกอร์หลายท่านลืมตรวจสอบความสมบูรณ์ พร้อมใช้งานของผ้าเบรก โดยบางท่านอาจคิดว่าใช้งานน้อยมาก ไม่น่าจะสึกหรอเท่าไหร่ หรือบางท่านอาจรอเปลี่ยนช่วงที่ นำรถเข้าศูนย์บริการเช็คระยะแล้วให้ช่างของศูนย์บริการตรวจเช็ค ความบางของผ้าเบรกไปทีเดียวเลย ซึ่งบางที มันอาจ “เบาเป็นหนัก”

Calipper เบรคหลัง

วิธีที่ 1 สังเกตด้วยตาเปล่า
การมองความหนาผ้าเบรกด้วยสายตานั้น ในรถบางรุ่น คาลิปเปอร์อาจไม่อยู่ในมุมที่เราจะมองเห็นความหนาผ้าเบรค หรือถ้ามองเห็นก็เล็กมาก บางทีอาจต้องใช้ไฟฉายส่อง ช่วยด้วยนะครับ แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่เพื่อนๆ ควรจะก้มดูและเช็คความหนากันบ้าง โดยเฉพาะเมื่อเตรียมตัวออกทริปใหญ่ ค้างคืนตามต่างจังหวัด ถือเป็นการเช็คความพร้อมของรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานทางไกลสูงสุดครับ

ผ้าเบรคที่หมดสภาพ หรือบาง

วิธีที่ 2 เช็คจากเกจ์วัดกระปุกน้ำมันเบรก
สำหรับการเช็คว่าผ้าเบรกหมดหรือไม่ จากกระปุกน้ำมันเบรกนั้น เป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่าย และรวดเร็วครับ นั่นเพราะว่าหลักการของคาลิปเปอร์ในการดันผ้าเบรกให้บีบกับจานนั้น จะต้องอาศัยน้ำมันเบรกเป็นตัวช่วยดันลูกสูบ เวลาที่เราบีบก้านเบรก ซึ่งหากผ้าเบรกบางลง หรือเหลือน้อย น้ำมันเบรกจะต้องเข้าไปแทนที่ในส่วนของเนื้อผ้าเบรกที่หายไป เพื่อให้การเบรคยังมีประสิทธิภาพเท่าเดิม นั่นเป็นเหตุผลให้น้ำมันเบรกเมื่อเราส่องจากกระปุกด้านบน จะพบว่าน้ำมันเบรกมีปริมาณลดลงเมื่อผ้าเบรกใกล้หมดนะครับ

กระปุกน้ำมันเบรค

วิธีที่ 3 ลองฟังเสียงขณะเบรก
ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์แต่ละท่าน จะสามารถตรวจสอบผ้าเบรกด้วยวิธีการข้างต้นได้ แต่กลับพบว่าหลายๆ ครั้งลูกค้าที่เข้ามาเปลี่ยนผ้าเบรก เกิดจากได้ยินเสียงขณะเบรกรถ อันเนื่องมาจากเนื้อผ้าเบรกหมดเกลี้ยงแล้ว ทำให้แผ่นเหล็กที่เป็นตัวยึดเนื้อผ้าเบรกมาเสียดสีกับจานเบรก ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าอันตรายมากหากผู้ใช้รถยังคงฝืนขี่ต่อไป เพราะแผ่นเหล็กที่ไว้ยึดผ้าเบรกนั้น ไม่ได้ออกแบบสำหรับมาเสียดสีกับจานเบรกครับ ทำให้ทุกครั้งที่เราเบรก เหล็กกับเหล็กจะเสียดสีกัน ทำให้จานเบรกสึกหรอ (หรือที่ใครๆ เรียกกันว่ากินจาน) จานอาจจะคดงอทำให้ไม่สามารถใช้การได้อีก และ เกิดความร้อนสูงสะสมซึ่งอาจส่งผลให้น้ำมันเบรกเดือดเกิดอากาศในระบบ ทำให้เบรกจมหายไปแต่รถไม่ชะลอ หรือที่เรียกกันว่าเบรกแตก นะครับ

จานเบรคที่ไม่สึกหรอ

วิธีที่ 4 จับสัมผัสประสิทธิภาพของการเบรค
การจับสัมผัสประสิทธิภาพการเบรคของรถของเราเอง ว่ามันลดลงหรือไม่ แค่ไหน มีระยะเบรกเพิ่มขึ้น ต้องบีบก้านเบรกลึกขึ้นหรือไม่ และมีอาการสั่น หรือเสียงกระพรือ ยามที่เราบีบเบรกหรือไม่ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะยากสักหน่อย เนื่องจาก รถที่เราใช้จนติดเป็นความเคยชินนั้น ระบบเบรกและระยะเบรกที่ลดประสิทธิภาพลงทุกครั้งที่เราใช้งาน แต่ตัวผู้ขับขี่ก็จะชินกับระยะและสัมผัสการเบรกที่ค่อยๆ ด้อยลงทีละน้อยๆ ด้วยเช่นกัน แถมสมองยังปรับสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรกด้วยการเติมแรงบีบให้มากขึ้น สายตาจะมองระยะวัตถุด้านหน้า และคาดคะเนระยะการเบรกที่ปลอดภัยให้มากขึ้น จนลืมนึกถึงสัมผัสการเบรกที่มีประสิทธิภาพในตอนแรกไป

ภาพจาก www.motoress.com

เลยสรุปแบบอ่านง่ายๆว่า ถ้าต้องการกำลังเบรค ที่ดีที่สุดในทุกอุณหภูมิ ให้เลือกใช้แบบซินเทอร์ แต่ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูง สึกเร็ว และกินจาน (ในกรณีที่ไม่ใช่จานเบรคเฉพาะ)

แบบออแกนิค มีราคาถูก ทนทานยาวนาน ไม่กินจานเบรคเหมือนแบบซินเทอร์ แต่กำลังเบรคและการทนความร้อนต่ำ เอาไว้ใส่รถจ่ายกับข้าวดีกว่า ที่อยู่ตรงกลางๆก็คือแบบเซรามิค เน้นราคาและอายุการใช้งาน แต่ใช้งานได้ดีการการขับขี่ที่ออกแนวสปอร์ตนิดๆ

ก็พอเป็นแนวทางในการเลือกผ้าเบรค ให้ถูกกับการใช้งานและงบประมาณครับ แต่จริงๆอยากแนะนำว่าอย่าไปงกกับเรื่องความปลอดภัยครับ รถผมใช้ซินเทอร์ตั้งแต่รถใช้งานยันรถซิ่งเลยครับ ผมเห็นนักแต่งรถหลายๆคนหาคาลิปเปอร์ดีๆแพงๆไปใส่รถ แต่เวลาเปลี่ยนผ้าเบรคดันซื้อผ้าเบรคถูกๆไปใส่ ก็ยังงงๆอยู่ แบบนี้ใช้คาลิปเปอร์เดิมติดรถแล้วหาผ้าเบรคดีๆใส่ยังจะดีกว่าเยอะครับ ประหยัดตังด้วย อย่าเอาแต่แฟชั่นครับ ต้องรู้จริงกับการใช้งานด้วยครับ ไม่งั้นเสียของหมดครับ หวังว่าข้อความของผมคงเป็นประโยนช์นะครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ http://bigbikelover.com/
ขอบคุณข้อมูลและภาพ https://realmotosports.com/4-trick-check-break-linings/
เรียบเรียงโดย : https://tzarbikeshop.co.th/
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น