ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่าง และ 3 ระบบไฟที่ไม่ควรมองข้าม

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่างและไฟสัญญาณมีจุดมุ่งหมายและหน้าที่เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถขับขี่รถยนต์ได้อย่างปลอดภัย ไฟแสงสว่างและไฟสัญญาณสามารถเอื้ออำนวยให้ผู้ขับขี่ทราบถึงทิศทางที่ได้ขับขี่อยู่ ในปัจจุบันนี้ระบบไฟแสงสว่างและไฟสัญญาณได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นโดยการนำระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ใส่เข้าไปในวงจร

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่าง และไฟสัญญาณ ที่ไม่ควรมองข้าม

สวิตช์ไฟในระบบไฟแสงสว่างในรถยนต์สวิตช์ที่นำมาใช้กันอยู่มีหลายแบบแต่ละแบบที่นำมาใช้ขึ้นอยู่กับวงจรและการออกแบบของระบบไฟแสงสว่างซึ่งมีดังนี้สวิตช์ไฟแสงสว่างสวิตซ์ไฟแสงสว่าง (light switch) รถยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบบิดและโยกขึ้นลง โดยจะติดตั้งอยู่ภายใต้พวงมาลัยรถยนต์เพื่อความสะดวกแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ และแบบเก่าจะเป็นแบบดึงและกด ควบคุมการทำงานของไฟหน้ารถยนต์ สวิตช์ไฟแสงสว่างรถยนต์ทั้งสองแบบจะต้องมีตำแหน่งการควบคุมไฟหน้ารถยนต์เป็น 3 ตำแหน่งด้วยกันคือ

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่าง และไฟสัญญาณ ที่ไม่ควรมองข้าม


1. ตำแหน่งตัดวงจร (off position) เป็นตำแหน่งที่ตัดกระแสไฟที่ไปยังหลอดไฟแสงสว่างทั้งหมดได้แก่ ไฟหรี่หรือไฟจอด และไฟหน้ารถยนต์

2. ตำแหน่งไฟหรี่หรือไฟจอด (parking position) เป็นตำแหน่งที่เมื่อดึงปุ่มสวิตช์ออกมา หรือบิดสวิตช์ไฟแสงสว่างตำแหน่งแรก จะทำให้ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟส่องป้าย และไฟบนแผงหน้าปัดติดสว่าง

3. ตำแหน่งไฟหน้า (head light position) ตำแหน่งนี้เมื่อดึงปุ่มหรือบิดสวิตช์จนสุด ไฟหรี่ หรือไฟจอด และไฟหน้ารถยนต์จะติดพร้อมกันหมด

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่าง และไฟสัญญาณ ที่ไม่ควรมองข้าม

สวิตช์ไฟสูง-ต่ำสวิตช์ไฟสูง-ตํ่า (dimmer switch) เป็นสวิตช์ที่ใช้ควบคุมลำแสงไฟหน้ารถยนต์ให้เป็นไฟสูงและไฟตํ่าให้เหมาะกับการจราจรในท้องถนนโดยได้แยกการทำงานออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่าง และไฟสัญญาณ ที่ไม่ควรมองข้าม


1. แบบหน้าสัมผัสหมุน (rotary contact) เป็นสวิตช์ไฟสูงที่มีสวิตซ์หน้าสัมผัสเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปล่อยเท้า สปริงจะดันให้หน้าสัมผัสทำงานสัมพันธ์กับสวิตซ์โดยอัตโนมัติ หน้าสัมผัสจะทำไว้ในลักษณะเหลื่อมลํ้ากันเพื่อป้องกันลำแสงไฟหน้าทั้งสองขาดหายไปในช่วงที่ทำการเปลี่ยนลำแสง

2. แบบโยกขึ้น-ลง (sliding switch) สวิตซ์ไฟสูง-ต่ำแบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ในปัจจุบันอันเนื่องมาจากความสะดวกสบายของผู้ขับขี่ โดยจะยึดติดตั้งอยู่ใต้พวงมาลัย และนิยมใช้สวิตช์โยกไฟสูง-ตํ่ารวมกันกับสวิตช์ไฟเลี้ยวภายในสวิตซ์แบบโยกขึ้น-ลงจะมีหน้าสัมผัสและการทำงานเช่นเดียวกันกับสวิตช์ไฟสูง-ตํ่าแบบหน้าสัมผัสหมุนสวิตช์ไฟสูงตํ่าแบบโยกที่ใช้รวมกันกับสวิตช์ไฟเลี้ยว

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ แสงสว่าง และไฟสัญญาณ ที่ไม่ควรมองข้าม

ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่ควรมองข้าม

ระบบไฟเป็นอีกระบบการทำงานของรถมอเตอร์ไซค์ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าระบบอื่น ๆ และมักเป็นสิ่งที่ทุกคนมองข้ามไป วันนี้ Tzarbikeshop ขอนำท่ามารู้จักกับระบบไฟในมอเตอร์ไซค์ว่า มีการทำงานและควรดูแลรักษาอย่างไร เพื่อให้รถมอเตอร์ไซค์คู่ใจของท่าน ได้อยู่ในสภาพการใช้งานที่ดี มีระบบไฟทีเสถียร สตาร์ติดได้ง่าย เร่งความเร็วได้ดี ไม่มีอาการเดินเบา หรือสะดุด ช่วยยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของมอเตอร์ไซค์ของท่านได้ ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์มีส่วนสำคัญอยู่ 3 ส่วน ดังนี้

  1. แบตเตอรี
This image has an empty alt attribute; its file name is กฟหกฟหกฟหกฟหก-1.jpg


แบตเตอรี่มีหน้าที่สำคัญในระบบไฟของจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะทำหน้าเก็บกระแสไฟเพื่อนำไฟใช้ในการสตาร์ตเครื่องยนต์ และใช้ในการทำงานต่างๆ เช่น ไฟสัญญาณ, ไฟหน้า, ไฟท้าย , ไฟเบรค, แตรสัญญาณ รวมถึงมีหน้าที่ส่งกระแสไฟเพื่อไปเลี้ยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อให้จักรยานยนต์สามารถทำงานได้อย่างปกติอีกด้วย

วิธีดูแลแบตเตอรี่แบบง่าย ๆ สามารถทำได้ดังนี้

  • ตรวจดูขั้วสายแบตเตอรี่ทั้งข้วบวกและขั้วลบว่า หลุดหลวม หรือมีขี้ตะกรันหรือไม่ ถ้ามีให้ใช้น้ำอุ่นล้าง และเอาแปลงลวดขัดให้ออก รวมทั้งตรวจสอบสายระบายไอของแบตเตอรี่ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะอาจจะทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกไอระเหตของแบตเตอรี่ผุกร่อนได้
  • ตรวจดูระดับน้ำแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับสูงสุด (Max) หรืออย่างน้อยต้องไม่อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด (Min) ถ้าน้ำยามีระดับต่ำต้องรีบเติมน้ำกลั่นลงไปให้ได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะทำให้แบตเตอรี่เสือม และเสียไว แล้วยังต้องคอยสังเกตด้วยว่าน้ำยาใน แบตเตอรี่แห้ง หรือไฟหมดเร็วกว่าปกติหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรีบเช็คระบบไฟทันที
  • นอกเหนือจากการตรวจเช็คแบตเตอรีแล้ว ก่อนขับขี่ทุกครั้งก็ควรตรวจดูไฟสัญญาณต่าง ๆ ว่าทำงานเป็นปกติดหรื่อไม่ ซื้งถ้าไฟสัญญาณต่างๆ เริ่มอ่อน ก็เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่นั้นเริ่มที่จะเสื่อม และเริ่มที่จะจ่ายไฟได้น้อยลงแล้ว

2. หัวเทียน

This image has an empty alt attribute; its file name is กฟหกฟหกฟหก.jpg

อาการสตาร์ตติดยาก ออกตัวไม่ดีไม่ค่อยมีกำลัง ล้วนมีสาเหตุ ล้วนมีสาเหตุมาจากการเสื่อมของหัวเทียนเป็นอันดับแรกทั้งสิ้น ดังนั้น การหมั่นสังเกตุดูสภาพหัวเทียนจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ อาการของรถสตาร์ติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ขึ้น เครื่องยนต์เดินไม่สะดวกขณะเดินเบา หรือเกิดอาการสะดุด มีสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป้นการใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป หรือไส้กรองอากาศอุดตัน โช้คค้าง หรือโช้คมากไป ตั้งไฟอ่อนมากไป แต่หากตรวจเช็คดูแล้วว่าที่หัวเทียนมีคราบเขม่าดำซึ่งเกิดจากการจุดระเบิดบกพร่องวิธีแก้ไขก็คือ เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดไปใช้หัวเทียนเบอร์น้อยลง) และปรับตั้งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง

วิธีตรวจเช็คหัวเทียนเบื้องต้น สามารถทำได้ดังนี้

  • หัวเทียนสภาพไม่ปกติ จะมีคราบเขม่าดำแห้งเกาะที่ปลายฉนวนเขี้ยวไฟ และด้านในเปลือกเหล็ก
  • หัวเทียนสภาพปกติ จะมีคราบสีเทา หรือสีน้ำตาล ที่ปลายฉนวนเขี้ยวไฟมีการสึกหรอ
This image has an empty alt attribute; its file name is ดหกดกหดกห.jpg
หัวเทียนสภาพปกติ (ซ้าย) และหัวเทียนสภาพไม่ปกติ (ขาว)

หลังจากที่เราได้ตรวจเช็คแล้ว หากเราตรวจเช็คที่หัวเทียนแล้วพบว่าเขี้ยวไฟละลาย หรือมีกระเบื้องละลายไปด้วย ถือไก้ว่าอาการค่อนข้างร้ายแรง เนื่องจากเป็นอาการที่อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุด และยังเป็นอันตรายต่อลูกสูบ โดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ โอกาสที่ลูกสูบติดมีค่อนข้างสูง สำหรับสาเหตุนั้นอาจเกิดจากการใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือใช้น้ำมันอ๊อกเทนต่ำไป รวมถึงการตั้งไฟแก่ไป หรือส่วนผสมบางไป มีวิธีแก้ไขคือ ให้ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่อีกด้วย

3. ระบบชาร์จไฟ

This image has an empty alt attribute; its file name is กๆไกๆไกๆไกไๆก.jpg

การตรวจสอบระบบการชาร์จไฟทำได้โดยการใช้โวลต์มิเตอร์ต่อคร่อมเข้ากับขั้วแบตเตอรี่ แต่สำหรับการวัดค่าการชาร์จโดยการวัดความถ่วงจำเพาะของกรด ด้วยไฮโดรมิเตอร์นั้นไม่ควรทำ ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีกรดพอที่จะดูดขึ้นมาใส่ภาชนะเพื่อทำการวัดค่าได้ ในการวัดค่าไฟชาร์จของแบตเตอรี่นั้น ให้ปลกขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน ค่าไฟชาร์จถ้าเป็นแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ เมื่อทำการวัดด้วยโวลต์มิเตอร์แล้วควรจะมีค่ามากกว่า 6 โวลต์เล็กน้อย ถ้าวัดได้ 5.6โวลต์ หรือต่ำกว่า ควรจัดการชาร์จไฟใหม่ และเมื่อชาร์จไฟแล้วค่าที่วัดได้ควรจะอยู่ประมาณ 7.6 โวลต์ แต่ถ้ามากกว่านี้ก็แสดงว่าเซลล์ใดเซลล์หนึ่ง เกิดการชำรุดขึ้นมา ส่วนแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ที่ใช้กันทั่วไปนั้น เมื่อวัดแล้วควรจะได้ค่าประมาณ 12.5 โวลต์ ถ้าวัดได้ 11 โวลต์ หรือต่ำกว่านี้ ก็ควรทำการชาร์จใหม่โดยที่ขณะชาร์จไฟ โวลต์เตจที่ขั้วควรจะได้ประมาณ 15 โวลต์ และในรถที่ใช้ระบบสตาร์ดไฟฟ้า โวลต์ของแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ที่ชาร์จไฟเต็มแล้วควรจะอยู่ระหว่าง 8-10โวลต์ เมื่อสตาร์เครื่องแล้ว

โวลต์มิเตอร์ คืออะไร ??

โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้า มีทั้งโวลต์มิเตอร์วัด
แรงดันไฟสลับ (AC Volt meter) และโวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง (DC Volt meter)
ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึง โวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง เท่านั้น โวลต์มิเตอร์จะมี
โครงสร้างแบบขดลวดเคลื่อนที่และแม่เหล็กถาวร (PMMC) และต่อความต้านทานตัวคูณ
(Multiplier resistor, RS) การที่โวลต์มิเตอร์สามารถวัดค่าแรงดันไฟฟ้าได้ก็อาศัย
ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านแอมป์มิเตอร์ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของแรงดันที่จ่ายเข้า
มา ดังนั้นการวัด ปริมาณ ของแรงดันไฟฟ้าก็ คือ การวัดปริมาณของกระแสไฟฟ้านั่นเอง
เพียงแต่เปลี่ยนสเกลหน้าปัดของมิเตอร์ให้แสดงค่าออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าเท่านั้น และปรับค่าให้ถูกต้อง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์ จะมีขีดจํากัดขึ้นอยู่กับค่าการ ทนกระแสได้ของโวลต์มิเตอร์นั่นเอง ดังนั้น เมื่อนําโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟฟ้าค่ามาก ๆ ย่อมส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์มากตามไปด้วยหากมากเกินกว่าที่โวลต์มิเตอร์ทนได้ก็ไม่สามารถนําโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดัน ไฟฟ้านั้นได้โครงสร้าง วงจรภายใน และสัญลักษณ์ของโวลต์มิเตอร์แสดงในรูป

This image has an empty alt attribute; its file name is กฟกฟหกฟหกฟหก.jpg

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ การดูแลรักษาระบบไฟของมอเตอร์นั้นไม่ยาก และไม่ซับซ้อนเลยใช่ไหมครับ หากเราดูแลดีๆ มอเตอร์ไซค์ของเราก็จะสามารถใช้งานไปได้อีกยาวนาน และไม่ต้องคอยกังวลว่ารถจะสตาร์ตติดหรือไม่ด้วยครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ www.rabbitfinance.comwww.checkraka.com/
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น