กันล้มบิ๊กไบค์ ช่วยได้จริงหรือไม่ กันล้มทั้ 2 แบบมีความสำคัญอย่างไร?

กันล้มบิ๊กไบค์ ชาวไบค์เกอร์หลายๆ คนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การรักษาความสวยงามของรถมอเตอร์ไซค์ BigBike (บิ๊กไบค์) คู่ใจของเรานั้นถือเป็นเรื่องสำคัญในอันดับแรกๆ เลยก็ว่าได้ และในตอนนี้ก็มีอุปกรณ์เสริมอีกหนึ่งชิ้นที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในวงการชาวบิ๊กไบค์ทั้งหลาย นั่นก็คือ Crash Bar หรือกันล้มนั่นเอง!!
แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อสงสัยที่ว่า เจ้าตัวกันล้มนี้มันสามารถช่วยรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจของเราได้จริงหรือไม่ แล้วหากช่วยได้ มันจะช่วยในเรื่องอะไรบ้าง รวมไปถึงมันจะส่งผลดีและผลเสียตามมาอย่างไรบ้าง ก็จะขอพาเพื่อนๆ มาพบกับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องของ “กันล้ม” ให้ได้ทราบกัน ว่าแล้วก็อย่ารอช้า ตามมาชมกันเลยดีกว่าครับ

กันล้มช่วยอะไรเราได้บาง?

สำหรับอุปกรณ์ Crash Bar หรือกันล้มนี้ แท้จริงแล้วมันก็จะเข้ามาช่วยในยามที่รถมอเตอร์ไซค์คู่ใจของเราเกิดพลาดล้ม ซึ่งกันล้มก็จะทำหน้าที่รองรับ ไม่ให้ตัวเฟรม หรือแฟริ่งของรถเกิดความเสียหายนั่นเอง โดยเราจะแบ่งระดับการล้มเป็น 3 ระดับ คือ

ล้มเบา หรือล้มแปะ
ตัวกันล้มนี้ก็จะสามารถเข้ามาช่วยรับแรงกระแทกได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยเซฟหรือป้องกันเฟรม รวมถึงแฟริ่งของรถไม่ให้เกิดความเสียหาย

ล้มไม่แรง (ความเร็วไม่เกิน 50 กม./ชม.)
แน่นอนว่าหากเราล้มไม่แรง เจ้าตัวกันล้มนี้ก็จะสามารถรองรับน้ำแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะสามารถช่วยให้แฟริ่งของรถไม่เกินความเสียหาย ซึ่งหากรถไม่ได้ติดกันล้ม ก็เท่ากับว่ามีความเป็นไปได้ว่าแรงกระแทกนั้น อาจจะลามไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกตัวรถ เช่น ปั๊มน้ำ หรือระบบไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น

ล้มด้วยความเร็วสูง (เกิน 60 กม./ชม.)
หากเราเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้ คือ รถล้มในขณะที่กำลังขับขี่มาด้วยความเร็วค่อนข้างสูง หากไม่ได้ติดเจ้าตัวกันล้ม รถของเราก็จะมีโอกาสเสียหายได้มากกว่า อันเนื่องมากจาก รถจะเกิดการสไลด์ไปกับพื้นถนน และแน่นอนว่าอย่างน้อยแฟริ่งของคุณจะเต็มไปด้วยรอยขีดข่วน หรืออาจจะถึงขั้นพังยับเยินเลยทีเดียวครับ

แต่ถ้าหากเราติดกันล้ม รถของเราจะเกิดการชะลอความเร็วลงได้ เนื่องจากตัวกันล้มนี้มันจะเป็นยาง และรถจะหยุดลงภายในระยะเวลาที่สั้นลง แต่อาจจะส่งผลเสียในกรณีที่ครูดไปกับถนนแล้วเจ้าตัวกันล้มนี้เกิดไปกระแทกกับตัวยึดด้านใน นั่นก็คือ บล็อกเครื่องยนต์ ฝาสูบ เป็นต้น ทั้งนี้อย่างน้อยหากรถ คู่ใจของเรามีเจ้าตัวกันล้มนี้ไว้ ก็จะต้องสามารถช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ในระดับหนึ่งอย่างแน่นอนครับ

กันล้มบิ๊กไบค์มีกี่แบบ?

กันล้มบิ๊กไบค์ ก็อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า กันล้ม ช่วยบรรเทาความเสียหายหากเกิดการล้ม สไลด์ เสียหลัก โดยตัวกันล้มจะยึดอยู่กับส่วนที่มีความแข็งแรงของมอเตอร์ไซค์คันเก่ง เช่น เฟรม จุดยึดแท่นเครื่อง แกนล้อหน้า-หลัง เป็นตัวช่วยไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดหากมีการล้ม กันล้มจะเป็นจุดแรกที่สัมผัสกับพื้นก่อน และป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่สำคัญของมอเตอร์ไซค์ได้รับการกระทบกระเทือนโดยตรง ซึ่งกันล้ม 2 รูปแบบ ที่เราพูดถึงไปแล้ว แม้ว่าจะออกแบบมาเพื่อช่วงป้องกันความเสียหายเหมือนกัน แต่หลักการทำงานและคุณสมบัติเด่นของกันล้มทั้ง 2 รูปแบบ กลับต่างกันอย่างสิ้นเชิง

กันล้มบิ๊กไบค์ แบบก้อนVSแบบบาร์

กันล้มแบบก้อน หรือ Bobbins โดยส่วนใหญ่จะผลิตจากพลาสติกโพลิเมอร์ที่มีความแข็งแรงสูงเชื่อมอยู่กับฐานอลูมิเนียม (ในตำแหน่งที่ยึดกับเฟรม) เป็นกันล้มที่เรียกว่าได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในรถหลากหลายรูปแบบ เช่นท สปอร์ต เนคเก็ตไบค์ คลาสสิคไบค์ ด้วยขนาดที่กะทัดรัด สามารถติดตั้งได้ง่าย ดูไม่เกะกะเพราะไม่ยื่นยาวออกมาด้านข้างตัวรถมากไปนัก ข้อดีในการใช้งานก็คือ ด้วยคุณลักษณะของวัสดุที่เป็นพลาสติกโพลิเมอร์ เวลาเกิดการล้มสไลด์ กันล้มจะเป็นตัวช่วยเบรกรถไม่ให้สไลด์ไปไกล ช่วยให้รถเกิดความเสียหายน้อยลงตามไปด้วย แต่ข้อเสียก็คือ ด้วยขนาดที่เล็ก ส่งผลให้พื้นที่ในการป้องกันนั้นยังอาจไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะในส่วนของแคร้งข้างเครื่องยนต์ที่อาจยื่นออกมามากกว่า หากล้มขึ้นมาจริงๆ แคร้งอาจเป็นจุดที่เกิดการกระทบกระแทกจนแตกได้ ดังนั้นจึงควรติดตั้งอุปกรณ์เสริมอย่าง “กันแคร้ง” ที่ช่วยให้การป้องกันทำได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 

กันล้มแบบบาร์ หรือ Crash Bar เป็นกันล้มที่ได้รับความนิยมมากในรถประเภททัวริ่ง หรือแอดเวนเจอร์ มีลักษณะเป็นแท่งโลหะพาดไปตามส่วนต่างๆ ด้านข้างตัวรถตั้งแต่บนจรดล่าง ข้อดีคือ สามารถป้องกันได้ครอบคลุมมากกว่า ทั้งในส่วนของเฟรม แฟริ่ง รวมถึงเครื่องยนต์ อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น เป็นจุดยึดสำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรต้องเลือกใช้แบรนด์ที่มีความแข็งแรง และมีคุณภาพมาตรฐานในการผลิต เนื่องจาก แครชบาร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้โลหะในการผลิต หากเกิดการล้มสไลด์คุณสมบัติของโลหะอาจช่วยหยุดรถได้ไม่ดีเท่าพลาสติกโพลิเมอร์ และหากตัวแครชบาร์ครูดไปกับพื้นจนเกิดความร้อนและประกายไฟขึ้น หรือมีการรั่วซึมของเชื้อเพลิง อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันลุกลามใหญ่โตได้ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้แบรนด์ที่มีมาตรฐานการผลิตที่สูงสักหน่อยครับ

ไม่ว่าไบค์เกอร์จะเลือกแบบไหน แต่สิ่งที่อยากจะย้ำไว้ก็คือ
“ของมันต้องมี…ก็ใส่ไปเถอะ” อย่างน้อยเวลามีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สิ่งนี้เป็นตัวช่วยลดความเสียหายและเซฟเงินในกระเป๋าของคุณได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ให้ดีที่สุดก็…ขับขี่กันอย่างปลอดภัย ไม่ประมาท นั่นแหละดีที่สุดครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ :https://www.autospinn.com/
ขอบคุณข้อมูลและภาพ http://bigbike.boxzaracing.com/
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น