รีเลย์ไฟเลี้ยว (Flasher Relay) คืออะไร ? ประกอบด้วย 2 ส่วน มีอะไรบ้าง

รีเลย์ไฟเลี้ยว (Flasher Relay) คืออะไร ? ทำไม่ต้องเปลี่ยนดีเลย์

รีเลย์ไฟเลี้ยว เดิมจะจ่ายกระแสไฟได้เพียง 12v ไม่สามารถปรับแต่งได้ และอาจจะให้แสงสว่างไม่มากพอในการใช้งานอาจจะทำให้ไฟติดๆดับๆ ส่วนรีเลย์แต่งจะเป็นไฟแบบ LED มีการจ่ายไฟที่มากกว่ารีเลย์ตัวเดิม จึงทำให้บางครั้งเราควรเปลี่ยนจากตัวเดิมมาเป็นรีเลย์แต่งตัวใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

วิธีแก้ให้ไฟเลี้ยวสามารถใช้เป็นหลอด LED ได้ปกติ
โดยการที่เราแค่เปลี่ยนตัวรีเลย์เดิมเป็นรีเลย์แต่ง ก็จะไม่เกิดปัญหาแบบเดิม ที่ไฟไม่ติด หรือ ไฟติดไม่เต็ม เมื่อได้เปลี่ยนใส่รีเลย์แต่งตัวใหม่แล้ว สามารถปรับความเร็ว
การกระพริบไฟเลี้ยวของเรา ได้ตามที่เราต้องการขึ้นอยู่กับความพอเราของเราได้เลย

ประเภทของ รีเลย์ไฟเลี้ยว (Relay)

ตัวรีเลย์ จะมีแบบที่เป็น 2 ขา กับ 3 ขา ขึ้นอยู่ที่ว่ารถของเรารุ่นอะไรดีเลย์ 3 ขา
ขาที่ 1 B. หมายถึงไฟ+ เอาไฟเปิดสวิทเข้า
ขาที่ 2 G หลัก-
ขาที่ 3 L คือไฟหลอดมีสถานะเป็น+ อีกขาของหลอดต้องไป
วิธีการกำหนดซ้ายขวา
ตัดสาย L ก่อนไปหลอดไปเข้าสวิทโยกซ้ายขวา จะมีสายไฟ 3 เส้น เข้า 1 ออกซ้าย 1 ขวา 1

รีเลย์ไฟเลี้ยว  (Flasher Relay) คืออะไร ? ทำไม่ต้องเปลี่ยนดีเลย์

ดีเลย์ 2 ขา มีแค่ ขา B และ L ไปครบวงจรที่หลอดเลย ปกติเป็นอลูมิเนียม รีเลย์รุ่นนี้ค่อนข้างเก่า และอาจจะทำให้ไฟกระพริบไม่เสถียร

รีเลย์ไฟเลี้ยว (Flasher Relay) คืออะไร ? ทำไม่ต้องเปลี่ยนดีเลย์

สำหรับใครที่ใส่ไฟเลี้ยวled ไฟ led นี้กินไฟน้อยมากจนไม่สามารถทำให้ไฟเลี้ยวกระพริบได้ท่านต้องหาหลอดไฟ LED มาต่อแบบขนานถึงกระพริบ

วิธีการติดตั้งรีเลย์ไม่ได้ยากอย่างที่คิดสามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย

1.หาตำแหน่งรีเลย์ไฟเลี้ยวของรถว่าอยู่ตรงไหน

2. ถอนรีเลย์ตัวเดิมออก จากนั้นใส่รีเลย์ตัวใหม่เข้าไป

3. สามารถปรับความเร็วของการกระพริบที่ตัวรีเลย์ได้ตามความต้องการแค่นี้ไฟเลี้ยวของเราก็จะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ถ้าเราเปลี่ยนมาใส่รีเลย์แต่งตัวใหม่แล้ว เราไม่ต้องกลัวว่าเวลาเปลี่ยนไฟเลี้ยวใหม่แล้วมันจะเกิดปัญหาขึ้นอีก เราสามารถเปลี่ยนไฟเลี้ยวได้หลายแบบตามที่เราต้องการได้เลย เราก็ยังสามารถมาปรับแต่งการกระพริบของไฟเลี้ยวตามใจที่เราต้องการได้อีกด้วย

รีเลย์ไฟเลี้ยว

แค่ปรับที่หัวปรับระดับของรีเลย์แต่งเองได้ง่ายๆ
กับตัวรีเลย์แต่งที่เราเปลี่ยนไว้แล้ว
แค่นี้ก็หมดปัญหากับอาการไฟเลี้ยวที่ชอบมีปัญหา
ไฟออกไม่เต็มหลอด หรือกระพริบไม่เท่ากันทั้ง 4 ดวง ทั้งหน้าและหลัง
เราไม่จำเป็นต้องให้ช่างเปลี่ยน เราก็สามารถทำเองกับรถของเราที่บ้านได้เลย

หลักการทำงานของรีเลย์

เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก เพื่อใช้ในการดึงดูดหน้าสัมผัสของคอนแทคให้เปลี่ยนสภาวะ โดยการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด เพื่อทำการปิดหรือเปิดหน้าสัมผัสคล้ายกับสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราสามารถนำรีเลย์ไปประยุกต์ใช้ ในการควบคุมวงจรต่าง ๆ ในงานช่างอิเล็กทรอนิกส์มากมาย

รีเลย์ (relay) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนหลักก็คือ

1. ส่วนของขดลวด (coil) เหนี่ยวนำกระแสต่ำ ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้แกนโลหะไปกระทุ้งให้หน้าสัมผัสต่อกัน ทำงานโดยการรับแรงดันจากภายนอกต่อคร่อมที่ขดลวดเหนี่ยวนำนี้ เมื่อขดลวดได้รับแรงดัน(ค่าแรงดันที่รีเลย์ต้องการขึ้นกับชนิดและรุ่นตามที่ผู้ผลิตกำหนด) จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้แกนโลหะด้านในไปกระทุ้งให้แผ่นหน้าสัมผัสต่อกัน

2. ส่วนของหน้าสัมผัส (contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ที่เราต้องการนั่นเอง

จุดต่อใช้งานมาตรฐาน ประกอบด้วย

จุดต่อ NC ย่อมาจาก normal close หมายความว่าปกติดปิด หรือ หากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้ทำงานตลอดเวลาเช่น

จุดต่อ NO ย่อมาจาก normal open หมายความว่าปกติเปิด หรือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะไม่ติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการควบคุมการเปิดปิดเช่นโคมไฟสนามหนือหน้าบ้าน

จุดต่อ C ย่อมากจาก common คือจุดร่วมที่ต่อมาจากแหล่งจ่ายไฟ

ข้อคำถึงในการใช้งานรีเลย์ทั่วไป

1. แรงดันใช้งาน หรือแรงดันที่ทำให้รีเลย์ทำงานได้ หากเราดูที่ตัวรีเลย์จะระบุค่า แรงดันใช้งานไว้ (หากใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะใช้แรงดันกระแสตรงในการใช้งาน) เช่น 12VDC คือต้องใช้แรงดันที่ 12 VDC เท่านั้นหากใช้มากกว่านี้ ขดลวดภายใน ตัวรีเลย์อาจจะขาดได้ หรือหากใช้แรงดันต่ำกว่ามาก รีเลย์จะไม่ทำงาน ส่วนในการต่อวงจรนั้นสามารถต่อขั้วใดก็ได้ครับ เพราะตัวรีเลย์ จะไม่ระบุขั้วต่อไว้ (นอกจากชนิดพิเศษ)

2. การใช้งานกระแสผ่านหน้าสัมผัส ซึ่งที่ตัวรีเลย์จะระบุไว้ เช่น 10A 220AC คือ หน้าสัมผัสของรีเลย์นั้นสามาถทนกระแสได้ 10 แอมแปร์ที่ 220VAC ครับ แต่การใช้ก็ควรจะใช้งานที่ระดับกระแสต่ำกว่านี้จะเป็นการดีกว่าครับ เพราะถ้ากระแสมากหน้าสัมผัส ของรีเลย์จะละลายเสียหายได

3. จำนานหน้าสัมผัสการใช้งาน ควรดูว่ารีเลย์นั้นมีหน้าสัมผัสให้ใช้งานกี่อัน และมีขั้วคอมมอนด้วยหรือไม่

สรุป รีเลย์คืออะไร ?

รีเลย์ (relay) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ ทำหน้าที่ ตัด-ต่อวงจร คล้ายกับสวิตซ์ ภายในตัวรีเลย์ประกอบด้วยสองส่วนด้วยกันคือ คอยล์ และหน้าสัมผัส โดยคอยล์จะทำหน้าที่ในการดึงหน้าสัมผัสให้มาแตะกัน โดยใช้สนามแม่เหล็ก ตัวคอยล์จะประกอบด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็ก เมื่อทำการจ่ายไปไปยังขดลวด แกนเหล็กจะกลายเป็นแม่เหล็กดึงหน้าสัมผัสให้มาชนกัน เมื่อไม่มีการจ่ายไฟให้กับขดลวดหน้าสัมผัสจะถูกดึงกลับด้วยสปริ

รีเลย์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีใช้อยู่ใน วงการอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟลำดับที่สอง (secondary switch) โดยมากมักจะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง รีเลย์อาจทำงานด้วยแรงดันต่ำมาก คือ 3 Volt ไปจนถึง 24 Volt

รีเลย์ในรถทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt และในทางปฏิบัติ เราเลือกใช้รีเลย์สำหรับรถยนต์กับรถยนต์เท่านั้น แม้ว่ารีเลย์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt จะมีอยู่ แต่ไม่นิยมใช้ในรถยนต์ อาจเนื่องจากขาของรีเลย์มีรูปต่างต่างกัน ต้องแปลงขา – แปลงขั้วต่อจนทำให้วุ่นวายเกินเหตุ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : young-machine.combigbikeinfo.com
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น