ระบบเบรค ABS ของมอเตอร์ไซค์ช่วยชีวิตเราได้จริงหรือไม่? เทคโนโลยี 1988 ?

เพื่อนๆหลายคนคงจะรู้จักระบบ ระบบเบรค ABS มอเตอร์ไซค์ กันพอสมควรแล้ว แต่อาจจะสงสัยอยู่ว่าระบบนี้เกิดขึ้นมาตอนไหน และมันจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาลองหาคำตอบกันเลย

Anti-lock Brake System หรือ ABS มีมานานกว่าที่เราคิดไว้ โดย BMW ได้แนะนำระบบ Bosch ABS เป็นครั้งแรกในปี 1988 โดยติดตั้งในรุ่น BMW K100 และหลังจากนั้นอีกไม่กี่ปีต่อมา ระบบกลไกนี้ก็ถูกแทนที่ด้วย Electro Hydraulic System
ของ Honda ที่ได้ติดตั้งไว้ในรุ่น ST100 ปี1992
จากนั้นก็ใช้เวลาอีก 28 ปี ถึงจะทำให้ระบบนี้กลายเป็นความปลอดภัยมาตรฐานสำหรับมอเตอร์ไซค์ 125 cc. หรือสูงกว่าในสหภาพยุโรป แต่คำถามคือถ้า ABS มีประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตจริง ทำไมมันถึงใช้เวลานานมากกว่าจะกลายเป็นมาตรการภาคบังคับ? คำตอบก็คือ เพราะเมื่อเรื่องนี้เข้าสู่การโหวตในที่ประชุมระดับนานาชาติ และชนะการโหวตเพราะได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนมาก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ในขณะนัันทุกประเทศจะรู้สึกว่ามันเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการลดอุบัติเหตุของมอเตอร์ไซค์ จึงทำให้ระบบนี้ใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่ยอมรับกันนั่นเอง

ที่นี้ก่อนมาหาคำตอบว่า ABS มอเตอร์ไซค์ จะช่วยชีวิตเราได้อย่างไร ลองสมมุติเหตุกาณ์ว่า คุณกำลังเข้าโค้งด้วยความเร็วมากเกินไป มีเพียงสองอย่างเท่านั้นที่คุณทำได้ หนึ่งคือคุณสามารถเบรกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นก็ปล่อยให้รถเข้าโค้งไป โดยได้แต่หวังว่าคุณจะผ่านไปได้โดยไม่ล้ม หรือสอง กดเบรกอย่างหนักให้นานขึ้น โดยไม่ปล่อย และจากนั้นก็เข้าโค้งในไลน์ที่กว้างไปจนถึงฝั่งตรงข้ามโค้ง (ซึ่งตามหลักฟิสิกส์และไลน์นี้จะช่วยให้รถกลับมาตั้งตรงได้) โดยทางเลือกสองทางนี้มีความเสี่ยงที่ต่างกันไปตามสถานการณ์แวดล้อม

ระบบเบรค ABS มอเตอร์ไซค์ นี้เองที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าการเบรกปกติ เพราะความเร็วก่อนเข้าโค้งที่มากเกินไปเป็นปัจจัยหลัก และ ABS มีหน้าที่เดียวคือป้องกันไม่ให้ล้อล็อคจากการเบรคอย่างหนักเพื่อลดความเร็วให้มากที่สุดในจังหวะก่อนจะเข้าโค้งนั่นเอง

ระบบเบรค ABS มอเตอร์ไซค์ทำงานอย่างไร?


ประสบการณ์หนึ่งที่ไบค์เกอร์จำนวนมากเคยเจอกับการเบรกล้อหน้าคือเมื่อเบรกหนักๆ จะทำให้เกิดการล็อกที่ล้อหน้าซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ระบบเอบีเอสหรือ Anti-lock Braking System คือสิ่งที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดสิ่งนี้ ด้วยการควบคุมแรงดันเบรกเพื่อให้อยู่ในระดับที่จะไม่ทำให้ล้อล็อก เพื่อทำสิ่งนี้ระบบป้องกันล้อล็อกเมื่อเบรกจะใช้เซ็นเซอร์ซึ่งปกติแล้วจะถูกติดตั้งไว้ที่จานเบรก โดยการทำงานจะวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์โดยใช้ ECU และเมื่อ ECU ตรวจจับว่าล้อใกล้จะเกิดการล็อก ก็จะส่งคำสั่งไปยังปั๊มเอบีเอสซึ่งติดตั้งพร้อมกับสายเบรกเพื่อลดแรงเบรกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเมื่อเอบีเอสทำงานปั๊มจะทำงานควบคุมแรงดันเบรกอย่างรวดเร็ว

ระบบเบรค ABS นี้เองที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าการเบรกปกติ เพราะความเร็วก่อนเข้าโค้งที่มากเกินไปเป็นปัจจัยหลัก และ ABS มีหน้าที่เดียวคือป้องกันไม่ให้ล้อล็อคจากการเบรคอย่างหนักเพื่อลดความเร็วให้มากที่สุดในจังหวะก่อนจะเข้าโค้ง
การใช้เบรกระบบ ABS นั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนบ้าง เพราะถ้าหากเกิดสถาณการณ์ขึ้นมา โดยที่ผู้ขับขี่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ก็อาจจะไม่สามารถใช้เบรก ABS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ระบบเบรคร่วม
(Combined Braking System CBS)

ล้อหน้าและหลังของรถจักรยานยนต์จะถูกควบคุมแยกจากกันซึ่งแตกต่างจากรถยนต์ เครื่องบิน หรือรถไฟ ถ้าผู้ขับขี่เบรกด้วยล้อหน้าหรือล้อหลัง ล้อที่เบรกมักจะล็อกเร็วขึ้นราวกับว่าใช้เบรกทั้งสองล้อ ระบบเบรกร่วม (Combined Braking System) จะกระจายแรงเบรกไปที่ล้อซึ่งไม่มีการเบรกด้วยเพื่อลดความเป็นไปได้ที่จะเกิดล้อล็อก เพิ่มแรงหน่วง และลดการโยนตัวของช่วงล่าง ที่ CBS แต่ละจุด แรงเบรกที่คันเหยียบเบรกล้อหลังจะกระจายไปที่ล้อหน้าในเวลาเดียวกัน วาล์วหน่วงจะตัดแรงดันไฮดรอลิกเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อมีการเบรก จะเกิดแรงดันที่ล้อหน้าด้วย Honda ได้ติดตั้ง Single CBS กับรถรุ่น GL1200 ในปี พ.ศ. 2525 สำหรับรถจักรยานยนต์สปอร์ตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจานเบรกด้านหน้าสองจุด Honda ได้ติดตั้งระบบ Dual CBS เป็นครั้งแรกกับรถรุ่น CBR1000F ในปี พ.ศ. 2536 โดยแรงดันเบรกที่ด้านหน้าจะส่งมาที่ล้อหลังและในทางกลับกัน ถ้าใช้มือเบรกหน้า จะเกิดแรงดันที่ 4 จาก 6 พ็อตในก้ามปูเบรก 2 ตัวที่ด้านหน้า แม่ปั๊มเบรกตัวที่สอง (Secondary Master Cylinder) ที่ล้อหน้าจะกระจายแรงดันที่เหลือไปที่ล้อหลังผ่านวาล์วควบคุมชนิดแบ่งสัดส่วนแรงดัน (Proportional Control Valve) และกระทำกับก้ามปูเบรกสองในสามตัว ในกรณีที่มีการเบรกอย่างแรงที่ล้อหลัง แรงที่เกิดขึ้นก็จะกระจายไปที่ล้อหน้า 2 ใน 6 พ็อต
CBS ช่วยลดอันตรายจากการเกิดล้อล็อกและล้มลง แต่ในบางสถานการณ์ก็เป็นไปได้ที่ CBS จะทำให้เกิดการล้ม ถ้าแรงดันเบรกกระจายจากล้อหลังไปล้อหน้าและแรงเสียดทานที่พื้นผิวเปลี่ยนแปลงกะทันหัน (เช่น แอ่งน้ำ น้ำแข็งบนพื้นถนน) ล้อหน้าอาจล็อกจนเหลือแต่เบรกหลังเท่านั้นที่ทำงาน ทำให้สูญเสียการทรงตัวและล้มลงได้ สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้ได้โดยใช้ CBS และ ABS ร่วมกันในรถจักรยานยนต์ มีหลากหลายวิธีในการผสมผสานทั้งสองระบบ ในกรณีที่ไม่เกิดการสร้างแรงดันแบบแอ็คทีฟ สำหรับ Single Version แชนแนลที่สามจะเชื่อมต่อกับวงจรที่ล้อหลังผ่านวาล์วหน่วงไปยังเบรกหน้า เมื่อเบรกอย่างแรงที่ล้อหลังเพียงอย่างเดียวหรือทั้งสองล้อ น้ำมันเบรกจะส่งไปยังวงจรเบรกผ่านตัววัดความเร็วที่ล้อ และแรงดันจะถูกปรับตามความเร็วล้อและการลื่นไถลเมื่อเบรก ใน Dual Version จะใช้ Honda Dual CBS ร่วมกับแม่ปั๊มเบรกตัวที่สอง และวาล์วควบคุมชนิดแบ่งสัดส่วนแรงดันกับ
Piston ABS ซึ่งมีตัวคุม (Modulator) คอยควบคุมแรงดันในแต่ละจุด


การสร้างแรงดันแบบแอ็คทีฟ ในปี พ.ศ. 2552 Honda ได้นำ ABS ร่วมที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับรถจักรยานยนต์สปอร์ตที่มีสมรรถนะสูงซึ่งเบรกด้วยไวร์เทคโนโลยี (Wire Technology) แรงเบรกที่ผู้ขับขี่ใช้จะถูกวัดโดยเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดันและส่งข้อมูลไปที่ ECU ซึ่งจะคำนวณการกระจายแรงดันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันล้อล็อกและให้แรงหน่วงที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้โดยอาศัยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วที่ล้อด้วย จากผลการคำนวณที่ได้นี้ มอเตอร์ที่แต่ละล้อจะสั่งให้ปั๊มทำงานโดยสร้างและควบคุมแรงดันเบรกที่ล้อ ระบบนี้ให้เวลาตอบสนองที่ดีเนื่องจากฟังก์ชันการทำงานแบบ Brake to Wire
ระบบ Motorcycle Integral Braking (MIB) จาก Continental Teves และ eCBS (CBS อิเล็กทรอนิสก์) ใน ABS สำหรับรถจักรยานยนต์จาก Bosch ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ระบบเหล่านี้อาศัยการทำงานของปั๊มและวาล์ว ด้วยการติดตั้งวาล์วเพิ่มเติม ปั๊มที่มีสมรรถนะสูงกว่า และมอเตอร์ที่มีพลังมากกว่า ระบบจะสามารถสร้างแรงดันได้อย่างมาก แรงดันเบรกจากผู้ขับขี่สามารถวัดได้ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดันที่มือเบรกและคันเหยียบเบรก ปั๊มสามารถสร้างแรงดันเพิ่มเติมเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพการขับขี่ นอกจากนี้ มีการออกแบบระบบ Partial Integral Braking สำหรับการทำงานในทิศทางเดียวคือ หน้าหลัง หรือหลังหน้า ในขณะที่ระบบ Fully Integral Braking จะสามารถทำงานได้แบบสองทิศทางคือ หน้าหลัง และหลังหน้า เนื่องจากระบบเหล่านี้ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์และสามารถสร้างแรงดันได้มาก จึงทำให้ผู้ขับขี่มีโอกาสปรับพฤติกรรมการเบรกรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์สามารถปิดการทำงานของ CBS และ ABS ได้ และเลือกโหมดการควบคุมแบบต่างๆ ที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลงได้

ระบบเบรค ABS สิ่งที่ควรรู้

สิ่งหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ABS คือ นี่ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่มสมรรถนะการเบรก หรือทำให้ระยะเบรกสั้นลง โดยไบคเกอร์ยังคงต้องกะระยะการเบรกที่เหมาะสมไม่ต่างกับเมื่อไม่มีการทำงานนี้ นอกจากนี้ยังมีบางพื้นผิวของถนนที่กระตุ้นให้ระบบเอบีเอสทำงานง่ายขึ้นและนานขึ้น ซึ่งปกติแล้วมักเป็นพื้นผิวที่มีการยึดเกาะต่ำ เช่น ถนนที่ยังอยู่ภายใต้การก่อสร้างซึ่งปกคลุมไปด้วยทรายหรือกรวด

ในส่วนของสถิติข้อเท็จจริงนั้น จากการศึกษาโดย Monash University ในปี 2015 พบว่า ระบบ ABS ช่วยลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 33% และ ช่วยลดการบาเจ็บสาหัส ได้ 39% และสิบปีที่ผ่านมาในสหราชอาณาจักร มีอุบัติเหตุลดลง 35% ซึ่งมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่ ABS ได้เริ่มเข้ามาเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยเสริม สำหรับสถิติหลังจากนั้น บอกได้ยากว่าตัวเลขอุบัติเหตุที่ลดลงเป็นผลมาจากระบบ ABS เพียงอย่างเดียว เพราะ ABS เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งท่ามกลางระบบความปลอดภัยใหม่ๆที่ถูกพัฒนาขึ้นมา

สุดท้ายนี้ ในความเป็นจริงนั้น สถิติก็ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง แต่สิ่งที่เราแน่ใจได้ก็คือ ABS ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างมีประสิทธิภาพ และมันคงไม่ถูกนำมาใช้หากไม่เป็นเช่นนั้น ไม่ว่ารถคุณจะมีหรือไม่มี ABS สุดท้ายคุณเองก็จะต้องเป็นคนหาทางป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเอง ต่อให้คุณมีระบบหรืออุปกรณ์ดีแค่ไหนก็ตามระบบหรืออุปกรณ์เหล่านี้ก็สามารถช่วยได้เพียงแค่บรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น สิ่งที่จะป้องกันไม่ให้มันเกิดได้ ก็คือการตัดสินใจของคุณเอง และการขับขี่แบบไม่ประมาทนั้นก็คือหนทางป้องกันที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งด้วย

ขอบคุณข้อมูลและภาพ www.visordown.com
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น