เทคนิคการ ใช่คลัทช์ รถมอเตอร์ไซค์ ทั้ง 2 แบบ ที่ถูกต้องเช้คด้วยตัวเองได้ง่ายๆ

เทคนิคการ ใช่คลัทช์ เชื่อว่า Biker ส่วนใหญ่ที่รักการขับขี่รถ Bigbike ยังขาดความรู้ในเรื่องของการใช้คลัทช์ในแบบที่ถูกต้องกันอยู่ทาง Tzarbike  จึงมีเทคนิคการใช้คลัทช์ ในวิธีที่ถูกต้องมากบอกกัน
ในปัจจุบัน รถ Bigbike หรือรถที่มี cc สูงๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็น รถมอเตอร์ไซค์ ที่มีสมรรถนะการใช้สูง มีระยะการขับขี่ได้ทั้งใกล้ ไกล รวมไปถึงมีความสนุกในการขับขี่ แต่เนื่องจากเป็นรถที่มี cc สูง การขับขี่จึงต้องใช้ทักษะความชำนาญในการขับขี่เป็นอย่างสูง รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์อย่างคลัทช์ก็มีความสำคัญต่อจังหวะในการขับขี่เช่นกัน เราเชื่อว่าผู้ขับขี่รถ Bigbike หลายๆคนอาจจะยังมีการใช้ คลัทช์ แบบผิดวิธีอยู่ เราลองมาดูกันดีกว่าว่า การใช้คลัทช์ที่ถูกต้อง นั้นต้องทำอย่างไร

เทคนิคการ ใช่คลัทช์

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วเราจะใช้คลัทช์ก็คือช่วงของการเปลี่ยนเกียร์ขึ้น – ลง หรือในช่วงเวลาที่ความเร็วของรถลดระดับลง และเครื่องยนต์เกิดกระตุก แล้วเราต้องกำคลัทช์เลี้ยงไว้เพื่อไม่ให้เครื่องดับ แต่ยังมีคนอีกมากที่มักจะกำคลัทช์ทุกคั้งที่ชะลอรถ หรือช่วงเวลาที่เบาคันเร่งลง เพื่อปล่อยรถไหลไป แต่ที่จริงแล้วนี่เป็นความเข้าใจที่ผิดและเป็นการใช้คลัทช์แบบผิดวิธีเป็นอย่างมาก เพราะการกำคลัทช์แล้วปล่อยรถไหลนั้นถือเป็นเรื่องที่อันตรายและไม่ควรทำ เนื่องจากถ้ารถมาด้วยความเร็วและแรง อาจจส่งผลให้รถไหลและพุ่งมากกว่าเดิม และยากต่อการควบคุม ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

นอกจากนี้สิ่งที่เรามักจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ และเชื่อว่า Biker หลายๆคนก็ทำเป็นประจำก็คือ การกำคลัทช์ แล้วปล่อยรถไหลเข้าโค้ง หรือกำคลัทช์ในโค้ง เพราะเชื่อว่าจะทำให้การเข้าโค้งได้ดีมากขึ้น ซึ่งเราอยากจะบอกว่านี่คือสิ่งที่อันตรายยิ่งกว่าการกำคลัทช์ แล้วปล่อยรถไหลในทางตรงมากขึ้นไปอีก เนื่องจากกำลังรถที่อาจจะมีมากก่อนไหลเข้าโค้ง อาจจะทำรถให้หลุดโค้งได้ง่ายมากขึ้น รวมไปถึงถ้ามีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทำให้ต้องเบรคกลางคัน การกำคลัทช์แล้วเบรคนั้นจะทำให้รถเกิดเสียการควบคุม และอาจทำให้รถหมุนเหวี่ยงแหกโค้งได้เช่นกัน และสิ่งที่ Biker ทั้งหลายควรรู้นั้นก็คือในช่วงที่เรากำคลัทช์ จะเป็นตัดระบบช่วยของ Engine Brake อีกด้วย ทำให้ตัวรถไม่มีระบบฉุดรั้งใดๆมาช่วยทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากการกำคลัทช์ในช่วงที่เปลี่ยนเกียร์ขึ้น – ลง หรือช่วงที่เลี้ยงไว้เพื่อไม่ให้รถดับแล้ว ถ้าไม่มีความจำเป็นอะไร อย่าใช้จะดีกว่า

การตัดต่อกำลังงาน

คลัตช์ คือองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้รถมีความเสถียรมากยิ่งขึ้นในขณะใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการออกตัวเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเปลี่ยนเกียร์ให้มีความนุ่มนวล หรือแม้กระทั่งการส่งผ่านของกำลังของเครื่องยนต์ที่มีความสัมพันธ์ของระบบเกียร์ คลัตช์ก็จะเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งหมด

คลัตช์จะทำหน้าที่ตัดหรือต่อกำลังงานระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ได้สะดวกในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ ผู้ควบคุมรถสามารถเข้าเกียร์ได้ด้วยการบีบคลัตช์เข้าเกียร์แล้วจึงปล่อยคลัตช์ เพื่อส่งกำลังงานให้รถเคลื่อนที่ไปได้อย่างสะดวกโดยไม่เสียกำลังงานจากเครื่องยนต์มากเกินไป และในขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ของรถจะมีการเปลี่ยนอัตราความเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนอัตราความเร็วแต่ละครั้งจะต้องใช้คลัตช์ทำหน้าที่ตัดและต่อการส่งกำลังของรถมอเตอร์ไซค์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของงานที่ผู้ขับรถจะเลือกใช้

ป้องกันไม่ให้เกิดเสียงดังขณะเข้าเกียร์

ลักษณะการทำงานของคลัตช์ตามปกติคือการตัดกำลัง เมื่อเราทำการบีบคลัตช์ ระบบก็จะเริ่มการตัดกำลัง ซึ่งปลายด้านหนึ่งของก้ามปูคลัตช์จะไปดันให้ลูกปืนคลัตช์กดปลายของนิ้วคลัตช์ให้ถอยออกมา เมื่อคลัตช์ถอยออกแผ่นก็จะลอยตัวออกเป็นอิสระ ทำให้คลัตช์ไม่ได้รับกำลังจากเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นการต่อและตัดการส่งกำลังระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์รถโดยมีคลัตช์เป็นตัวเชื่อม ทำให้การส่งกำลังงานผ่านไปได้อย่างสะดวกและนิ่มนวล ง่ายต่อการควบคุม และง่ายต่อการใช้งาน ไม่มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทำให้ระบบส่งกำลังของรถมอเตอร์ไซค์มีประสิทธิภาพไม่ว่าเปลี่ยนอัตราความเร็วของรถในตำแหน่งใด

ป้องกันการชำรุดเสียหายของฟันเฟือง

ชุดการทำงานของคลัตช์จะมีแผ่นคลัตช์เป็นตัวทำงานที่สำคัญ ที่แผ่นคลัตช์จะมีผ้าคลัตช์ซึ่งทามาจากสารสังเคราะห์ผสมกับเส้นใยโลหะ ทำให้มีความฝืดและเพิ่มความนิ่มนวลในการจับกับหน้าแปลนซึ่งช่วยเพิ่มแรงให้กับรถในขณะแผ่นกดคลัตช์ และลดแรงกระชากของกำลังเครื่องยนต์ทำให้ฟันเฟืองของเกียร์เลื่อนเข้าออกได้คล่องตัวตลอดการใช้งาน จึงทำให้การเข้าเกียร์ได้สะดวก ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอัตราความเร็วของเกียร์ เพื่อเพิ่มรอบความเร็วให้กับรถได้ตามต้องการ
สะดวกในการเปลี่ยนเกียร์
คลัตช์ทำหน้าที่ตัดและต่อกาลังขับระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์รถยนต์ การติดเครื่องยนต์แต่ละครั้ง จะต้องกระทำในขณะที่เครื่องยนต์ไม่มีภาระ (Load) นอกจากนี้เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนเกียร์แต่ละครั้ง จะต้องตัดกำลังขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ก่อน

เทคนิคการ ใช่คลัทช์ ประเภทของคลัทช์

ก่อนที่จะไปดูว่าคลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่นนั้น ลองมาทำความรู้จักกับประเภทของคลัทช์กันสักนิดนึง อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้คลัทช์มีอยู่ 2 แบบ คือ คลัทช์เปียก และคลัทช์แห้ง แต่ในรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปส่วนมากจะเป็นคลัทช์แบบเปียกกันหมดแล้ว คือชุดคลัทช์จะถูกแช่อยู่ในน้ำมันเครื่อง

เรามาพูดถึงข้อดีและข้อเสียของการเลียคลัทช์กันต่อครับ 
เริ่มด้วยข้อดีก่อนเลย การเลียคลัทช์นั้น คือ เทคนิคการใช้คลัทช์เพื่อช่วยให้การออกตัวรถไม่กระตุกหรือดับ เหมือนที่เราได้กล่าวข้างต้น และเป็นเทคนิคการออกตัวที่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับที่ใช้ได้ดีเลยทีเดียว หรือสามารถใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีแรงบิดหรือพละกำลังสูงแต่อยากออกตัวนิ่มๆ เบาๆ ก็สามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ได้ รวมไปถึงการจอดรถบนเนินที่สูงแล้วจะออกตัวโดยที่รถไม่ไหลลงและไม่ดับ…การเลียคลัทช์ก็สามารถช่วยได้ครับ

ข้อเสียก็ต้องมีตามมาเช่นกัน เมื่อคุณเลียคลัทช์มากเกินไป ผลที่ตามมานั่นก็คือ การสึกหรอของระบบคลัทช์นั่นเองครับ และที่เน้นๆ เลยก็คือ แผ่นคลัทช์หมด ไปจนถึง คลัทช์ไหม้ เพราะด้วยการเลียคลัทช์หนักๆ นานๆ นั้น จะทำให้แผ่นคลัทช์หมุนเสียดสีกับจานกดคลัทช์เป็นเวลานานและเกิดการเสียดสีที่หนักขึ้น ทำให้แผ่นคลัทช์เริ่มร้อนและบางลง หลังจากนั้นก็จะเกิดความร้อนจากการเสียดสีที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คลัทช์ไหม้ในที่สุด

การทำงานของคลัทช์เปียก
เหตุที่ส่วนมากรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันถูกใช้แบบคลัทช์เปียกนั้นก็เพราะด้วยการใช้งานที่ทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่านั่นเอง รวมไปถึงระบบการทำงานที่มีความเงียบกว่าคลัทช์แห้ง อีกระบบหนึ่งที่ขอรวมเอาไว้อยู่ในหัวข้อนี้ก็คือระบบคลัทช์อัตโนมัติที่จะเป็นการทำงานแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ซึ่งจะมีอยู่ในรถที่ไม่มีมือคลัทช์ให้บีบ

การทำงานของคลัทช์แห้ง
การทำงานของคลัทช์แห้งส่วนมากจะถูกใช้อยู่ในรถแข่งเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุก็เพราะระบบคลัทช์แห้งจะสามารถถ่ายทอดกำลังได้ดีกว่าคลัทช์เปียก แต่ก็ยังมีรถมอเตอร์ไซค์บางรุ่นที่ใช้คลัทช์แห้งอยู่ ซึ่งสังเกตง่ายๆ เลย รถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้คลัทช์แห้งอยู่นั้นเสียงคลัทช์จะดังมาก และคลัทช์แห้งส่วนใหญ่สามารถมองเห็นการทำงานได้เลย จึงทำให้คลัทช์แห้งไม่เหมาะที่จะใช้งานในยุคปัจจุบันสักเท่าไหร่ รวมไปถึงสภาพอากาศในบ้านเราที่มีฝุ่นและฝนตกอยู่บ่อยๆแบบนี้ เพราะสิ่งสกปรกจะเข้าไปติดอยู่ในระบบคลัทช์ทำให้ชุดคลัทช์เกิดการสึกหรอได้ง่ายนั้นเอง ถ้าใช้คลัทช์ประเภทนี้ก็อาจจะต้องค่อยดูแลรักษากันมากกว่าคลัทช์แบบเปียก แต่หลายคนก็อาจจะมองว่าคลัทช์แห้งนั้นก็เท่ดีอยู่เหมือนกัน

ไม่ว่าจะเป็นคลัทช์แบบไหนเมื่อถึงเวลาที่เปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนเมื่อไหร่นั้นจะรู้กันได้อย่างไร ก่อนที่จะเปลี่ยนอะไหล่ชุดคลัทช์นั้นรถก็จะมีอาการบอกให้ได้ทราบกันก่อน แต่ว่าก็ต้องสังเกตอาการนิดนึ่งว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องเปลี่ยน การสังเกตนั้นก็ไม่ยาก โดยปกติแล้วเมื่อบีบคลัทช์รถมอเตอร์ไซค์ก็จะค่อยๆ เคลื่อนตัวออกไปในทันที อาจจะบิดคันเร่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รวมถึงจังหวะการเปลี่ยนเกียร์เองก็จะมีความนุ่มนวลในทุกเกียร์

สาเหตุของคลัทช์หมด

คลัทช์เริ่มหมดอาการคือ เมื่อเริ่มออกตัวรถจากที่เคยใช้คันเร่งเท่าเดิม กลายเป็นว่าต้องเติมคันเร่งให้มากขึ้น เพื่อให้รถสามารถเคลื่อนตัวข้างหน้าได้ เช่นเดียวกับช่วงจังหวะการเปลี่ยนเกียร์จากที่มีความนุ่มนวลก็อาจจะมีอาการสะดุดของรถหรือว่าเกิดอาการเกียร์ไม่เข้าที่เรียกว่าเกียร์เปลี่ยนยากนั้นเอง รวมไปถึงในช่วงที่มีการใช้รอบเครื่องยนต์หรือบิดคันเร่งในช่วงจังหวะที่ต้องการใช้ความเร็ว เสียงรอบเครื่องยนต์ดังขึ้นแต่ว่าความเร็วนั้นกลับไม่เร็วขึ้นนั้นเอง นี่ก็เป็นการสังเกตอาการของคลัทช์หมดในเบื้องต้น เช่นเดียวกับรถออโตเมติกเองเมื่อบิดคันเร่งไปแล้วรอบเครื่องยนต์ดังขึ้น แต่ว่าความเร็วกลับคงที่หรือว่าช้ากว่าปกติ

เรื่องของคลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่น นอกจากการเปลี่ยนคลัทช์ตามอายุการใช้งานแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่ต้องทำให้เปลี่ยนคลัทช์ก็คือการที่ผู้ขับขี่อาจจะเผลอใช้นิ้วมือเกี่ยวอยู่ที่มือคลัทช์ ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องระวังกันนิดนึ่ง เพราะจังหวะนี้นิ้วอาจจะไปกดก้านคลัทช์ได้โดยที่เราไม่ทันระวังตัว ส่วนมากจะเป็นความเคยชินมากกว่า ทำให้คลัทช์นั้นถูกใช้งานไปได้โดยไม่รู้ตัว ในขณะเดียวกันเครื่องยนต์ก็ไม่สามารถถ่ายทอดกำลังไปได้หมด จะสังเกตได้คือจะคล้ายๆ อาการของคลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่น รถจะไม่สามารถทำความเร็วได้เท่าที่ควร แต่จะใช้รอบเครื่องยนต์มากกว่าปกติ และอาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าคลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่นกันได้เลย แต่แท้จริงแล้วเป็นเพราะว่านิ้วไปเกี่ยวเอามือคลัทช์ บ่อยเข้าคลัทช์เกิดหมดขึ้นมา

คราวนี้ก็ลองสังเกตกันนิดหนึ่งระหว่างที่ใช้งานรถกันอยู่ทุกวัน ถ้าหากวันไหนที่รู้สึกว่าต้องใช้รอบเครื่องยนต์มากกว่าปกติที่เคยเป็นก็สามารถสันนิษฐานได้เลยว่าเป็น อาการคลัทช์หมด ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแล้ว แต่ถ้าให้ชัวร์ก็ให้นำรถเข้าศูนย์บริการเลยดีกว่า เพราะถ้าหากปล่อยให้คลัทช์หมด คราวนี้ได้กินข้าวลิงกันแน่ๆ ครับ เพราะว่าจะไม่สามารถขับไปไหนได้เลยจะได้ยินแค่เสียงรอบเครื่องอย่างเดียวแต่รถจะไม่วิ่ง ไม่ว่าจะใช้เกียร์อะไรก็ตาม และทางที่ดีใช้คลัทช์เดิมหรือของศูนย์บริการนั้นก็จะดีและแน่นอนที่สุดครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ :https://auto.mthai.com/
ขอบคุณข้อมูลและภาพ :https://www.cfmotoallride.com/
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น